วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีการเข้าสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45

1. นำสาย UTP มาปอกฉนวนหุ้มที่ปลายสายทั้งสองด้านยาวประมาณ 3 ซ.ม. เมื่อปอกแล้วจะพบเห็นสายอยู่ 4 คู่ บิดเป็นเกลี่ยวแยกสีไว้ชีดเจน

2. คลายเกลียวที่สายออก แล้วแรียงสายตามสีที่กำหนด แบ่งการเชื่อมต่อสายสัญญาณได้ 2 วิธี
2.1 สายสัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีการเรียงสีเพื่อเข้าขั้ว RJ45 เหมือนกันทั้งสองด้าน
รูปแสดง การเรียงสีของสาย UTP
ชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch ความเร็ว 100 Mbps


หัวสายด้านที่ 1 ลำดับสายที่ หัวสายด้านที่ 2
ขาว ส้ม 1 ขาว ส้ม
ส้ม 2 ส้ม
ขาว เขียว 3 ขาว เขียว
ฟ้า 4 ฟ้า
ขาว ฟ้า 5 ขาว ฟ้า
เขียว 6 เขียว
ขาว น้ำตาล 7 ขาว น้ำตาล
น้ำตาล
8
น้ำตาล
2.2 สายสัญญาณชนิดไขว้สาย เรียกว่า สายคอสโอเวอร์ ( Crossover ) ในกรณีนี้ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองตัวเข้าด้วยกัน
รูปแสดง การไขว้สาย UTP ชนิดที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอรสองตัว
หัวสายด้านที่ 1 ลำดับสายที่ หัวสายด้านที่ 2
ขาว ส้ม 1 ขาว
เขียว
ส้ม 2 เขียว
ขาว เขียว 3 ขาว
ส้ม
ฟ้า 4 ฟ้า
ขาว ฟ้า 5 ขาว
ฟ้า
เขียว 6 ส้ม
ขาว น้ำตาล 7 ขาว
น้ำตาล
น้ำตาล 8 น้ำตาล

3. เมื่อเรี่ยงสายตามสีในขั้นตอนที่ 2 แล้วตัดสายให้เหลือประมาณ 1.5 ซ.ม.
4. เสียบสาย UTP ที่ตัดและเรียงสีไว้แล้ว เข้าไปในขั้วต่อ RJ45 โดยให้หมายเลขสายที่เรากำหนดไว้ตามขั้นตอนที่ 2 ตรงกับหมายเลขขั้ว RJ45
5. เสียบขั้ว RJ45 เข้าไปในร่องคีม ดันสาย UTP ให้สนิทอีกครั้ง แล้วใช้มือบีบด้ามคีมให้แน่น โลหะทองเหลืองของขั้ว RJ45 จะเข้าไปสัมผัสกับสายทองแดง ข้อควรระวัง การดึงหัว RJ45 ออกจากคีมให้ใช้มือบีบหางพลาสติกสำหรับล็อกก่อน

วิธีเข้าหัวแลน หรือ หัวRJ-45 ตัวผู้กับสาย UTP-CAT5E

ตารางที่ 1 แบบ T568B Crossover

RJ-45
CABLE (CAT 5)
Pi Symbol Color
1 TD+ ขาวส้ม
2 TD- ส้ม
3 RX+ ขาวเขียว
4 Not Assigned น้ำเงิน
5 Not Assigned ขาวน้ำเงิน
6 RX- เขียว
7 Not Assigned ขาวน้ำตาล
8 Not Assigned น้ำตาล


ตารางที่2แบบ T568A (Cross)
RJ-45
CABLE (CAT 5)
Pin Symbol Color
1 TD+ ขาวเขียว
2 TD- เขียว
3 RX+ ขาวส้ม
4 Not Assigned น้ำเงิน
5 Not Assigned ขาวน้ำเงิน
6 RX- ส้ม
7 Not Assigned ขาวน้ำตาล
8 Not Assigned น้ำตาล
วิธีการเข้าหัวทั้ง 2 แบบ
- การเข้าแบบธรรมดา เป็นการเชื่อมต่อแบบต่างอุปกรณ์ เช่น การใช้สายต่อกันระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ Switch หรือ HUB

Crossover Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Rx+ 1 Rc+
2 Rc- 2 Rc-
3 Tx+ 3 Tx+
6 Tx- 6 Tx-
Straight Through Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Tx+ 1 Rc+
2 Tx- 2 Rc-
3 Rc+ 3 Tx+
6 Rc- 6 Tx-


- การเข้าแบบไขว้ หรือ Cross เป็น การเข้าสายแบบ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน เช่น HUB to HUB ,Switch To Swich หรือ คอมพิวเตอร์อ กับ คอมพิวเตอร์ เราสามารถที่จะใช้ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ NoteBook
Crossover Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Rx+ 3 Tx+
2 Rc- 6 Tx-
3 Tx+ 1 Rc+
6 Tx- 2 Rc-
Straight Through Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Tx+ 1 Rc+
2 Tx- 2 Rc-
3 Rc+ 3 Tx+
6 Rc- 6 Tx-

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อุปกรณ์ เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
1. เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายหรือเพิ่มระยะทางการสื่อสารของเครือข่ายในการ ส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย
ตามมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ในมาตรฐานการส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายใช้ 10BaseT ซึ่งมีข้อกำหนดของมาตรฐาน
การ เชื่อมต่อระบบได้ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร ถ้าความยาวของระบบมากกว่า 100 เมตร ต้องมีเครื่องทวนสัญญาณในการขยายสัญญาณ เพื่อให้เป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน
เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)





2. บริดจ์ (Bridge)
เป็น อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบ LAN เข้าด้วยกัน โดยออกแบบมาเพื่อใช้ติดต่อระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น LAN จำนวน 2 เครือข่าย ที่มีโปรโตคอลเหมือนกันหรือต่างกัน เพื่อให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้ โดยประสิทธิภาพในทางรวมลดลงไม่มาก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องอยู่ในเซกเมนด์เดียวกัน จะไม่มีการส่งผ่านต่างเซกเมนด์ (Segment)

3.ฮับ (Hub)
เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลได้หลายช่องทางในระบบ เครือข่าย โดยการขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมา ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสายเคเบิลได้ใกล้ขึ้น และใช้กับระบบเครือข่ายแบบ Star ในปัจจุบัน Hub มีความเร็วในการสื่อสารแบบ 10 และ 100 Mbps ลักษณะการทำงานของ Hub จะแบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (Port) ที่ใช้งานตามมาตรฐานความเร็ว เช่น ระบบเครือข่ายใช้มาตรฐานความเร็วเป็นแบบ 10 Mbps และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 10/5 คือ 2 Mbps
ฮับ (Hub)




4. สวิตช์ (Switch)สวิตซ์ หรือ อีเธอร์เนตสวิตช์ (Ethernet Switch) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบ เครือข่าย คล้ายกับ Hub ต่างกันตรงที่ลักษณะการทำงานและความสามารถในเรื่องของความเร็ว การทำงานของ Switch ไม่ได้แบ่งความเร็วตามจำนวนช่องสัญญาณ (port) ตามมาตรฐานความเร็วเหมือน Hub โดยแต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว เช่น ระบบเครือข่ายใช้มาตรฐานความเร็วเป็นแบบ 100 Mbps และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อในระบบ 5 เครื่อง แต่ละเครื่องก็จะสื่อสารกันภายในระบบโดยใช้ความเร็วเท่ากับ 100 Mbps
สวิตช์ (Switch)



5. เราท์เตอร์ (Router)
เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายต่างชนิดกัน หรือใช้โปรโตคอลต่างกัน เข้าด้วยกัน คล้าย ๆ กับ Bridge แต่ลักษณะการทำงานของ Router นั้นจะซับซ้อนกว่า เพราะนอกจากจะเชื่อมต่อแล้วยังเก็บสภาวะของเครือข่ายแต่ละส่วน (Segment) ด้วย และสามารถทำการกรอง (Filter) หรือเลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย ซึ่งสภาวะของระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันนี้ Router จะจัดเก็บในรูปของตารางที่เรียกว่า Routing Table ซึ่งตาราง Routing Table นี้จะมีประโยชน์ในด้านของความเร็วในการหาเส้นทางการสื่อสารข้อมูลระหว่าง ระบบเครือข่ายโดยเฉพาะกับระบบเครือข่ายที่ซับซ้อนมาก ๆ เช่น ระบบ MAN, WAN หรือ Internet เป็นต้น
เราท์เตอร์ (Router)


6. เกตเวย์ (Gateway)
เป็น อุปกรณ์ที่ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ที่มีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เปรียบเสมือนเป็นประตูทางผ่านในการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างชนิด กัน เช่น ระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway นั้นอาจจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่ก็ได้
7. โมเด็ม (Modem)
เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากดิจิตอล (Digital) ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) และจากสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ
ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะโมเด็มทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
คอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาณที่อุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ในระบบเครือข่ายสามารถเข้าใจได้ หลังจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลต้องมีโมเด็มเพื่อแปลงสัญญาณจาก อุปกรณ์สื่อสารให้เป็นสัญญาณ
ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ซึ่งความสามารถของโมเด็มสามารถวัดได้จากความเร็วในการรับส่งข้อมูลจำนวน 1 บิตต่อ 1 วินาที (บิตต่อวินาที) หรือ bps (bit per second) ปัจจุบัน Modem มีสองประเภท คือ โมเด็มที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง (Internal Modem) และโมเด็มที่ไม่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่อง (External Modem) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
โมเด็ม (Modem)

ระบบ เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรหรือระหว่างองค์กร โดยการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (LAN) หรืออาจจะเป็นเครือขายต่างท้องถิ่น หรือเครือข่ายแวน (WAN) และเป็นเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เป็นตัวเชื่อมโยงการสื่อสาร การสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตที่สำคัญๆ ได้แก่ การสื่อสารระบบเว็บ (Web) การโอนย้ายไฟล์ (FTP) และระบบฐานข้อมูล (Database) อาจกล่าวได้ว่าอินทราเน็ต คืออินเตอร์เน็ตขนาดเล็ก เพราะซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อการสื่อสารบนอินทราเน็ตจะเป็นแบบเดียวกับที่ใช้บน อินเตอร์เน็ต รวมทั้งเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายอินทราเน็ตก็มีการใช้แอพพลิเคชัน
เหมือนกับเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทุกประการ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

เพื่อน

www.mememejung.blogspot.com


www.tiruk15.blogspot.com

www.Jukduy.blogspot.com

www.nittaya13.blogspot.com

www.nutsba.blogspot.com

www.Patama13.blogspot.com

www.newyear7134.blogspot.com

www.Dajung2010.blogspot.com

www.poopae555.blogspot.com

http://www.zoo-ruk.blogspot.com/
www.korhyper52.blogspot.com

www.praputson2.blogspot.com

www.Namtho999.blogspot.com

www.Santan9899.blogspot.com

www.Swlkksanpui.blogspot.com

www.apisit-loveyou.blogspot.com

www.Koonstitchclub.blogspot.com

www.Thaicok.blogspot.com

www.Tangtonnalove.blogspot.com

www.Pimpakk486.blogspot.com

www.petchai222.blogspot.com

www.kimhyonjung.blogspot.com

www.surut16.blogspot.com

www.forgetmenot_fernway.blogspot.com

www.sorry-lin.blogspot.com

www.Mintra-abnormal.blogspot.com

www.DowandMok.blogspot.com

www.Cheesekra.blogspot.com

www.AE andtama.blogspot.com

www.pigred.blogspot.com

http://www.piew88.blogspot.com/

www.tukinpo.blogspot.com

www.Toulex5.blogspot.com

www.loypila.blogspot.com

www.kapook16.blogspot.com

www.Mayrrhung.blogspot.com

www.Bigbody11.blogspot.com

ข่า

ข่าเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนนานหลายปี ลำต้นลงหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะภายนอกของลำต้นมีข้อ และปล้องเห็นได้ชัดเจน อยู่ใต้ดิน ส่วนที่เหนือดิน จะเป็นก้านและใบ สูงประมาณ 1-2 เมตร พืชชนิดนี้จะเป็นที่รู้จักกัน เป็นอย่างดี เพราะได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ ในการปรุงอาหารรับประทาน


ข่า : (Kha), Galingale, Galanga


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga Swartz

วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ชื่ออื่นๆ : ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)

ถิ่นกำเนิด : อินเดีย พม่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ บอร์เนียว อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

ข่าเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเป็นกอ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีน้ำตาลอมแสดมีเส้นแบ่งข้อช่วงสั้นๆ เนื้อในเหง้ามีสีขาวรสขมเผ็ดร้อน แต่ไม่เผ็ดเหมือนกับขิง มักมีกลิ่นหอมฉุน ข่าเป็นพืชใบเดี่ยว ใบยาวปลายใบมนขอบใบเรียบ ก้านใบยาวเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ดอกเป็นช่อสีขาวนวล ผลกลมสีแดงส้มมีรสเผ็ดร้อน
เหง้าสดมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารเมททิล-ซินนาเมต ซีนีออล การบูร และยูจีนอล
สรรพคุณ
1. ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้วช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดินและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน


2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆจนกว่าจะดีขึ้น

3. สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม

4. ใช้ไล่แมลงโดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง

5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้าคือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด

ใบย่านาง

ชื่อ : ใบย่านาง


ชื่อสามัญ : Bai-ya-nang

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra Diels

วงศ์ : MENISOERMACEAE

หากใครเป็นคออาหารอีสานรสแซบแล้วละก็ เป็นต้องคุ้นกับกลิ่นใบย่านางที่เคล้ามากับซุบหน่อไม้และแกงหน่อไม้ที่หอมยั่วน้ำลาย


ใครบางคนว่ากลิ่นใบย่านางนั้นหอมแต่บางคนก็ว่าฉุนทั้งนี้และทั้งนั้นก็อาจเป็นเพราะขึ้นอยู่กับรสนิยมของคนกินด้วยว่ากลิ่นที่ว่านี้จะถูกกันหรือไม่ แต่หากว่าแกงกับซุบหน่อไม้ไร้ซึ่งน้ำคั้นจากใบย่านางก็เห็นทีจะไม่เป็นซุบหรือแกงที่รสชาติแซบนัว (แปลว่าอร่อยแบบกลมกล่อม – ภาษาอีสาน) เพราะกลิ่นเปรี้ยวกลิ่นขื่นและรสขมของหน่อไม้ทีดองก่อนนำมาทำอาหาร

น้ำคั้นสีเขียวคล้ำหรือเกือบดำของใบย่านางคือเครื่องปรุงรสปรุงกลิ่นที่สามารถสยบกลิ่นเปรี้ยวของหน่อไม้ แต่ถึงแม้ใครต่อใครจะชอบอาหารอีสานอย่างซุบหน่อไม้ก็ใช่ว่าจะรู้จักใบย่านาง บางคนไม่ทราบว่าน้ำที่ปนมากับซุบหน่อไม้สีคล้ำ ๆ นั้นละคือน้ำใบย่านาง เพราะใบย่านางไม่ใช่พืชผักที่แพร่หลายมากนัก มักกินกันแต่ตามต่างจังหวัดบางที่บางแห่ง เมืองกรุงนั้นหารับประทานสดนั้นยากอยู่เหมือนกัน จึงควรทำความรู้จักกันไว้ เพราะย่านางคือตัวการที่ทำให้อาหารอร่อยแบบลึกลับเหมือนน้ำคั้นสีคล้ำที่แค่เพียงดูก็ไม่รู้เลยว่าจะทำให้อร่อยได้อย่างไร

นำพริกกะปิ

เครื่องตำ

กุ้งแห้ง

กะปิอย่างดี

พริกขี้หนูสวน

น้ำตาลปี๊บ

มะเขือพวง

มะนาว

กระเทียม

หอมแดง

ขั้นตอนการตำน้ำพริกกะปิ



บดหรือตำกุ้งแห้งให้ละเอียด จากนั้นตักขึ้นมาใส่ชามพักไว้

โขลกกระเทียมกับหอมแดงให้ละเอียด ตามด้วยพริกขี้หนูสวน และ มะเขือพวงพอประมาณโขลกพอหยาบ

ใส่กะปิ และน้ำตาลปี๊บ คลุกเคล้าให้เข้ากับข้อ 2

ใส่มะนาว และ น้ำต้มสุก พอประมาณ

นำกุ้งแห้งที่บดละเอียดจากข้อ 1 มาใส่และคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ชิมรส ปรุงตามชอบใจ ถ้าชอบเผ็ดอาจใส่พริกขี้หนูเพิ่มได้

โรยด้วยเม็ดมะเขือพวงที่ไม่บุบ ให้สวยงาม